Last updated: 23 พ.ย. 2564 | 4545 จำนวนผู้เข้าชม |
DENA Diary #กฐินสามัคคีปี 64
“กฐินทาน”
งานบุญใหญ่ที่จัดเป็น “กาลทาน” คือ ทานที่ถูกกำหนดด้วยเวลา มีเพียงปีละครั้ง ต้องทำภายในเวลา 30 วัน หรือจำง่ายๆว่า #หลังวันออกพรรษาจนถึงวันลอยกระทง เป็นช่วงเวลาที่พระภิกษุสงฆ์ฯและญาติโยมจะได้ร่วมแรงร่วมใจกันสานต่อประเพณีอันดีงามที่เริ่มมาจาก “พระพุทธเจ้า” มีความเป็นมายังไง ดีน่าขอเล่าให้ฟังพอสังเขปนะคะ
“จุดเริ่มต้น”
เมื่อครั้งพุทธกาล มีพระสงฆ์จำนวน 30 รูป ต้องการเดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ด้วยระยะทางที่ไกล และยังมีฝนตกลงมา ทำให้จีวรของพระสงฆ์เหล่านั้นเปรอะเปื้อนไปด้วยโคลน เมื่อพระพุทธเจ้าได้เห็นแล้ว จึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ทั้งหลายได้อยู่ต่ออีก 30 วันหลังจากออกพรรษาแล้ว เพื่อรอรับกฐิน โดยมีนางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นผู้ที่ได้ถวายผ้ากฐินเป็นคนแรก
“ผ้ากฐินหาได้ยาก”
ในสมัยนั้น การหาผ้าสำหรับมาทำเป็นผ้ากฐิน หาได้ยาก และไม่เพียงพอต่อจำนวนพระภิกษุสงฆ์ฯ จึงได้มีการมอบให้กับพระผู้มีจีวรเก่ากว่าเพื่อน และฉลาดในพระธรรมวินัยเป็นผู้ได้รับผ้ากฐิน ท่ามกลางความยินดีในหมู่สงฆ์ด้วยกัน
“หัวใจสำคัญ”
ผ้ากฐิน แท้ที่จริงแล้ว คือ ผ้าขาว ที่พระสงฆ์ทุกรูปจะช่วยกันนำมาตัด เย็บ ย้อม ด้วยมือ จนได้เป็นผ้าไตร หรือ ชิ้นใดชิ้นหนึ่ง โดยสมบูรณ์ และมีกำหนดเวลาว่าจะต้องทำให้เสร็จก่อนเช้าวันรุ่งขึ้น เพื่อนำผ้านั้น ไปถวายให้กับพระสงฆ์ที่เห็นสมควรต่อไป สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นคือ #ภาพความสามัคคีของพระภิกษุสงฆ์ที่มาร่วมกัน ตัด เย็บ ย้อมผ้าให้เสร็จทันเวลา #แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ยังทรงช่วยสนเข็ม และเป็นแบบอย่างของความ #สามัคคีกลมเกลียวกัน
แม้ในปัจจุบันจะมีการถวายผ้าไตรสำเร็จรูป แต่ก็ยังต้องมีการถวายผ้าขาวซึ่งเป็นองค์กฐินหลักควบคู่กันไปด้วย
“บริวารกฐิน”
นอกจากผ้ากฐินแล้ว สิ่งของถวายอื่นๆ จะถือเป็นบริวารกฐินทั้งหมด เช่นของถวายพระประเภทต่างๆ รวมไปถึง พุ่มเงินกฐินจากเจ้าภาพที่ร่วมทำบุญ ก็ถือเป็นบริวารกฐินเช่นกัน
“กฐินสามัคคี”
ไม่ใช่เพียงแต่พระภิกษุสงฆ์ฯ ที่จะได้ร่วมกันแสดงน้ำใจ มีความสามัคคีและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันจนงานกฐินสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ฆราวาสญาติโยมเองก็ให้ความสนใจและเห็นความสำคัญของ “การทอดกฐิน” มาร่วมแรงร่วมใจกันจัดเตรียมผ้ากฐิน และ บริวารกฐินกันอย่างประณีตสวยงามจนสำเร็จลุล่วงได้ เพราะ ความสามัคคี ที่มีแบบอย่างมาจากพระพุทธเจ้านั่นเอง
“อานิสงส์ผลบุญ”
การทอดกฐินเป็นกาลทาน คือ ทานที่ต้องทำภายในกำหนดเวลา ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว วันหนึ่งทำได้ครั้งเดียว ทุกคนที่มาร่วมบุญต้องมีการจัดเตรียมงานในหลายส่วน เจ้าภาพและผู้ร่วมทอดกฐินสามัคคีย่อมเข้าถึงโภคทรัพย์และมนุษย์สมบัติที่ได้ร่วมกันถวายทาน และยังได้อานิสงส์บริวารสมบัติจากการบอกกล่าวชวนญาติมิตรมาร่วมบุญด้วยกัน ถือเป็นบุญใหญ่ ที่ทำได้ยาก และเป็นบุญที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่ามีอานิสงส์มาก
และอีกไม่กี่วัน ดีน่าและทีมงานพร้อมครอบครัว จะได้เดินทางไปเป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ณ วัด วัดเทพประสิทธิ์ - ถ้ำนิมิตเขื่อนปราณบุรี วันที่ 19 เดือน พฤศจิกายน ปี 2564 เวลา 14.00 น.
ดีน่าจะขอถือโอกาสนี้ทำบุญแทนคุณลูกค้าทุกท่านนะคะ หรือ หากคุณลูกค้าท่านใดสนใจ สามารถเดินทางไปร่วมบุญกฐินกับเราได้นะคะ
ขอให้อานิสงส์แห่งกฐินทานครั้งนี้จงนำมาซึ่งความสุข ความเจริญ แด่คุณลูกค้าทุกท่าน ปลดเปลื้องความทุกข์ทั้งปวงเทอญ
#ดีน่าร่วมทอดกฐินสามัคคีปี64
สามารถสั่งซื้อบริวารกฐินเป็นชุดสังฆทานได้ที่
https://www.denadelivery.com/merit-online
คำที่เกี่ยวข่อง
กฐิน , บุญกฐิน , ทานกฐิน ,กฐินสามัคคี , บริวารกฐิาน , การจัดงานกฐิน , เตรียมตัวจัดงานกฐิน , พานพุ่มกฐิน , พับแบงค์ทำกฐิน , ผ้าไตรกฐิน , อนิสงส์ผลบุญกฐิน , ผ้ากฐิน , หัวใจหลักของงานกฐิน , งานกฐิน , สามัคคีกฐิน
14 พ.ค. 2565
28 เม.ย 2566
18 เม.ย 2566